แม่และเด็ก

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

อากาศเปลี่ยนแปลง ห่วงลูกเป็นภูมิแพ้




อากาศเปลี่ยนแปลง ห่วงลูกเป็นภูมิแพ้ (แม่และเด็ก)


โดย : พญ.พรรณทิพา ฉัตรชาตรี (กุมารแพทย์)

“แม้โรคนี้จะไม่ใช่โรคที่อันตรายถึงชีวิต และไม่ใช่โรคติดต่อ เพียงแต่พบเยอะและพบบ่อย แต่ก็มักจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็ก”

ทำไมเด็กสมัยนี้จึงเป็นภูมิแพ้อากาศกันค่อนข้างเยอะคะ เห็นเพื่อนลูกหลายคนก็เป็น แม่เขาดูกังวลมากเลย บางคนก็พาไปรักษาหลายที่ ไม่หายสักที อยากทราบว่าเกิดจากอะไรคะ

“ส่วนใหญ่แล้ว ภูมิแพ้ทางเดินหายใจมักจะไม่ค่อยพบในเด็กเล็ก ส่วนใหญ่จะพบเด็กเลยวัยสัก 3 ขวบไปแล้ว ในเด็กเล็ก ๆ จะพบภูมิแพ้อาหารหรือภูมิแพ้ผิวหนังมากกว่า ดังนั้นก็จะพบได้ว่า เด็กหลาย ๆ คน มีภูมิแพ้ทั้ง 3 อย่างเลย คือตอนเล็ก ๆ อาจมีภูมิแพ้ผิวหนังก่อน โตมาสักหน่อยค่อยมีภูมิแพ้อาหาร ทานอาหารบางอย่างไม่ได้ พอวัยสัก 3 ขวบขึ้น จึงค่อยแสดงอาการของภูมิแพ้ทางเดินหายใจ แต่บางคนก็มีอาการแค่อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นอยู่ที่ตัวเด็กเองค่ะ

...ส่วนสาเหตุของภูมิแพ้ หลัก ๆ เลยก็คือพันธุกรรม จากสถิติเราพบว่า ถ้าพ่อหรือแม่มีภูมิแพ้ จะพบโอกาสที่ลูกมีภูมิแพ้ด้วยถึง 70 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว สาเหตุต่อมาคือเรื่องของสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก ทั้งความเป็นอยู่ เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ซึ่งนั่นทำให้พบว่า แนวโน้มของโรคนี้ที่เป็นในเด็กนับวันจะเพิ่มมากขึ้น

...ส่วน หนึ่งเข้าใจว่าเพราะเด็กไทยสมัยนี้ไม่แข็งแรงเหมือนสมัยก่อน อาจเพราะเด็กอยู่กับธรรมชาติน้อยลง ไม่ค่อยเจอต้นไม้ ไม่ได้วิ่งเล่นในสวนสาธารณะ ไม่ได้สัมผัสกับอากาศดี ๆ อย่างในต่างจังหวัด นอกจากนี้เด็กไทยสมัยนี้ก็ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย อยู่แต่บ้าน ห้างสรรพสินค้า หรือเล่นเกม เล่นคอมพิวเตอร์ บ้างก็อยู่ในชุมชนแออัด ซึ่งมีสารก่อภูมิแพ้สะสมจำนวนมาก นั่นเป็นคำตอบว่า ทำไมเด็กบางคน พ่อแม่ไม่มีประวัติภูมิแพ้ แต่เด็กกลับเป็น”

เราจะสังเกตได้อย่างไรว่าลูกเป็นหวัดหรือเป็นภูมิแพ้ คือลูกชายมักจะจามบ่อย และมีน้ำมูก บางทีก็มีอาการคันตาร่วมด้วย ให้ลูกทานยาแก้หวัดแล้ว ก็เป็น ๆ หาย ๆ

อาการ ที่สังเกตได้ คือ เด็กจะจามบ่อย ๆ มีน้ำมูกค่ะ ซึ่งจะเป็นน้ำมูกใส ๆ ต่างกับน้ำมูกเวลาเป็นหวัดซึ่งจะมีสีข้น เป็นวิธีสังเกตอย่างหนึ่งว่าเด็กเป็นหวัดหรือเป็นภูมิแพ้ทางเดินหายใจ แต่หลัก ๆ ให้ดูที่ความถี่ ถ้าจามบ่อย ๆ คันจมูกบ่อย ๆ หรือบางรายมีคันตาด้วย แล้วเป็นนานก็สงสัยได้ว่าเด็กอาจเป็นภูมิแพ้ ยิ่ง ถ้ามีอาการรุนแรงมาก เช่น ต้องอ้าปากหายใจบ่อย ๆ เจ็บคอบ่อย ๆ นอนกรน เหนื่อยง่าย ไอบ่อย ๆ หายใจแล้วมีเสียงวี๊ดในปอด อย่างนี้ควรรีบพาลูกมาให้คุณหมอตรวจค่ะ เพื่อจะได้แนะนำวิธีดูแลตนเองต่อไป

...อย่าง ไรก็ดี แม้โรคนี้จะไม่ใช่โรคที่อันตรายถึงชีวิต และไม่ใช่โรคติดต่อ เพียงแต่พบเยอะและพบบ่อย แต่ก็มักจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็ก เช่น เด็กบางคนเป็นเรื้อรัง ทำให้ต้องหยุดเรียนบ่อย รบกวรการเรียน บ้างเกิดปมด้อย กลายเป็นเด็กขาดความมั่นใจ เป็นเด็กสมาธิสั้น บางรายทรมานจากจมูกอักเสบ จากไซนัสอักเสบ ทำให้นอนไม่หลับ กลายเป็นเด็กเซื่องซึมไม่ค่อยพูดกับใคร เป็นต้น”

เราสามารถป้องกันโรคภูมิแพ้ให้ลูกตั้งแต่ในครรภ์ได้หรือไม่

“ทางพันธุกรรมคงป้องกันได้ยากค่ะ แต่ก็มีวิธีป้องกันบ้าง คือ มีการวิจัยจากหลาย ๆ ประเทศแล้วว่า หลังเด็กเกิดมาแม่ที่ให้นมลูกจะทำให้โอกาสที่เกิดภูมิแพ้ในเด็กลดลง ดังนั้น ก็จะมีการรณรงค์ให้แม่ได้ให้นมลูกด้วยตนเอง แต่สำหรับบางรายที่ให้นมลูกไม่ได้ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ เดี๋ยวนี้ก็มีนมสูตรที่ช่วยลดโอกาสเกิดภูมิแพ้ในเด็กออกมา ก็สามารถให้ลูกทานได้ ขณะเดียวกัน แม่ที่ตั้งครรภ์ก็ควรงดสูบบุหรี่ รวมไปถึงสถานที่มีควันบุหรี่ หรือควันต่าง ๆ ตลอดจนสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ และดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง หมั่นทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบถ้วนและเพียงพอ เหล่านี้จะช่วยลดโอกาสเกิดภูมิแพ้ให้กับลูกได้ค่ะ

...แต่ที่กล่าวมานี้ก็ไม่เสมอไปนะคะ บางรายแม้แม่จะดูแลทั้งตนเองและเขาอย่างดีแล้ว เด็กก็มีโอกาสที่จะเกิดภูมิแพ้ได้เช่นกัน ซึ่งต้องเข้าใจนะคะ เราไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม”

การช่วยเหลือลูกที่เป็นภูมิแพ้จะทำได้อย่างไร สามารถรักษาให้หายขาดได้เลยหรือไม่ ขอคำแนะนำด้วยค่ะ “ปัจจุบันเราสามารถตรวจว่าเด็กมีภูมิแพ้หรือไม่ ได้โดยการหยดน้ำยาลงบนผิวของเด็ก แล้วเอาเข็มสะกิด เพื่อดูแอ๊คชั่นที่ผิวหนังของเขา จะทำให้ทราบได้ว่าเขาแพ้สารชนิดใด และอีกวิธีคือ การเจาะเลือดไปตรวจ ก็จะทำให้ทราบผลเช่นเดียวกัน

...ส่วนการรักษาหลัก ๆ ก็จะเป็นการให้ยาบรรเทา เช่น ยาทานหรือยาพ่น ซึ่งเมื่อไหร่ที่เขามีอาการ เขาก็จะสามารถใช้ยาช่วยได้ทันที จะทำให้อาการค่อย ๆ เบาลง และดีขึ้น และหมอก็จะให้การแนะนำเรื่องการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม และการใช้ชีวิตให้กับเด็ก ซึ่งถ้าเขาทำได้ดี คือ พยายามหลีกเลี่ยงสถานที่มีสารก่อภูมิแพ้ เขาก็อาจไม่ต้องใช้ยา จึงอยากให้คุณแม่สบายใจว่า ภูมิคุ้มกันของเด็กนั้นยังเปลี่ยนแปลงได้ไม่เหมือนผู้ใหญ่ โอกาสที่ภูมิแพ้ของเขาจะหายได้เองนั้นจึงมี โดยเฉพาะถ้าหากเขาได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม

...สิ่งที่คุณแม่ควรจะทำก็คือ การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเขา โดยการปลูกฝังให้เด็กได้ออกกำลังกาย ได้เล่นกีฬากลางแจ้ง รวมทั้งทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะพวกผักและผลไม้ นอกจากนี้ ก็ต้องจัดสถานที่ให้เขาได้อยู่อย่างเหมาะสม โดยควรเป็นสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเท และไม่เป็นที่สะสมสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ ที่สำคัญ ควรจัดเตรียมยาให้เขาให้พร้อมเสมอ เผื่อหากอาการกำเริบ จะได้ช่วยเหลือได้ทันค่ะ”

credit :www.kapook.com

ป้ายกำกับ: , , ,

แนะพ่อแม่ตรวจก่อนมีลูกลดเสี่ยงลูกป่วย




แนะพ่อแม่ตรวจก่อนมีลูกลดเสี่ยงลูกป่วย"โรคธาลัสซีเมีย" (คมชัดลึก)


"เชื้อสายคนไทยเราถือว่ามีภาวะแฝงของธาลัสซีเมียสูงมาก เมื่อเทียบกับประชากรโลกในภูมิภาคต่างๆ จากการสำรวจและประเมิน คนไทยเรามีภาวะแฝงธาลัสซีเมียชนิดต่างๆ อยู่ประมาณ 1 ใน 3 ของพลเมืองทั้งประเทศ หรือประมาณ 20 ล้านคน"

เรื่องนี้ได้รับคำยืนยันจาก รศ.นพ.ปรีดา วาณิชยเศรษฐกุล กุมารแพทย์ด้านการปลูกถ่ายไขกระดูก คลินิกธาลัสซีเมีย ศูนย์กุมารเวชกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ว่า ถ้า สายพันธุกรรมของตำแหน่งการสร้างเม็ดเลือดแดงมีความบกพร่องขาดหายหรือผิดปกติ ทางโครงสร้างไปทั้ง 2 ข้าง ผู้ที่มีสายพันธุกรรมลักษณะนี้ เรียกว่า ผู้ป่วยโรค "ธาลัสซีเมีย" จะมีโรคโลหิตจางเกิดขึ้นอุบัติการของคนไทย ที่ป่วยเป็นโรค "ธาลัสซีเมีย" ชนิดต่างๆ มีสูงถึงประมาณร้อยละ 1 หรือประมาณ 6 แสนคน แต่ไม่ได้หมายความว่า ผู้ป่วยทุกคนจะมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่า 4 แสนคน เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดเอช ซึ่งเกิดจากแอลฟ่า 1 ผนวกกับแอลฟ่า 2 หรือผนวกกับซีเอส จะมีอาการซีดน้อยถึงปานกลาง ไม่รุนแรงนัก

"ธาลัสซีเมีย" มาจากภาษากรีกโบราณ ต่อมาถูกนำมาใช้ทางการแพทย์หมายถึง การสร้างเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ตาม ปกติมนุษย์เราจะสร้างเม็ดเลือดแดงลักษณะคล้ายรูปจาน หรือรูปร่างคล้ายยางรถยนต์ หรือขนมโดนัท คือลักษณะเป็นเซลล์กลมๆ ที่มีรอยหวำตรงกลาง เม็ดเลือดแดงจะไหลเวียนไปตามกระแสเลือดเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งเม็ดเลือดแดงสร้างจากไขกระดูกหรืออีกนัยหนึ่งสร้างและพัฒนาเติบโตจาก เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตที่อยู่ภายในโพรงไขกระดูก ไขกระดูกนั้นก็คือเนื้อเยื่อที่อยู่ภายในหรือแกนในกระดูก

ผู้ป่วย "ธาลัสซีเมีย" ก็คือภาวะที่สายพันธุกรรมในตำแหน่งของการสร้างเม็ดเลือดแดงขาดหายไปยัง ครอบคลุมไปถึงภาวะที่สายพันธุกรรมในตำแหน่งของการสร้างเม็ดเลือดแดงมีการ เปลี่ยนแปลงในโครงสร้าง ทำให้มีการสร้างสารฮีโมโกลบินชนิดแปลกแตกต่างจากปกติด้วย ซึ่งธาลัสซีเมียในประชากรไทยมีหลายชนิดที่พบบ่อยก็คือ แอลฟ่า1 และแอลฟ่า2 ชนิดเบต้า ชนิดอี ชนิดซีเอส

แม้ "ธาลัสซีเมีย" เป็นโรคร้ายแต่ป้องกันได้ รศ.นพ.ปรีดา แนะนำว่า โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียถือเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ โดยพ่อแม่มักเป็นภาวะแฝงหรือพาหะ จึงไม่มีอาการ หากทั้งคู่แต่งงานกันโอกาสที่ลูกแต่ละคนจะเป็นโรคธาลัสซีเมียจึงเท่ากับ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25 โอกาสเป็นภาวะแฝงเท่ากับ 2 ใน 4 และโอกาสเป็นปกติเท่ากับ 1 ใน 4

"หมอ แนะนำคู่สมรสหรือสามีภรรยา ที่ยังไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะแฝงธาลัสซีเมียหรือไม่ ควรตรวจเลือดอย่างละเอียด ถ้าพบว่ามีภาวะแฝงทั้งคู่ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทางโรคเลือด เพื่อดูว่ามีความเสี่ยงที่ลูกจะป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมียหรือไม่ หากลูกเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ชนิดรุนแรง และภรรยาตั้งครรภ์ แพทย์สามารถให้การวิเคราะห์วินิจฉัยด้วยวิทยาการที่ทันสมัย ได้ตั้งแต่อายุครรภ์อ่อนๆ" รศ.นพ.ปรีดา ระบุ

รศ.นพ.ปรีดา แนะนำว่า ผู้ที่มีภาวะแฝง มักจะไม่มีอาการซีด ไม่อ่อนเพลีย การเจริญเติบโตเหมือนปกติ ไม่มีตับหรือม้ามโต สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาใดๆ ทั้งสิ้น มีอายุขัยเหมือนคนปกติ แต่กรณีผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียชนิดที่รุนแรงที่สุดคือชนิดแอลฟ่า1 ผนวกกับแอลฟ่า 2 เด็กจะซีดรุนแรง บวมน้ำ ตับม้ามโต หัวใจวายตั้งแต่ระยะท้ายในครรภ์แม่และเสียชีวิตเมื่อคลอดออกมา และแม่ที่อุ้มท้องก็อาจเกิดครรภ์เป็นพิษได้

ไม่เพียงเท่านั้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบต้าธาลัสซีเมียทุกรายและโรคเบต้าธาลัสซีเมียฮีโมโกลบิน อีบางราย แม้จะยังไม่มีอาการซีดในช่วงแรกของชีวิต แต่จะมีอาการซีดรุนแรงมากขึ้นตั้งแต่ก่อนอายุ 6 เดือนเป็นต้นไป มีตับโตม้ามโต ผู้ป่วยส่วนใหญ่จำเป็นต้องได้รับเลือดทดแทนเป็นประจำสม่ำเสมอทุก 3-4 สัปดาห์ จึงจะยังมีชีวิตอยู่ได้และเจริญเติบโตได้ดี ถ้าไม่ได้รับเลือดทดแทนจะเติบโตช้า ตัวเตี้ย แคระแกร็น อาจมีหน้าตาเปลี่ยน หน้าผากนูน โหนกแก้มสูง ดั้งจมูกแบน มีร่างกายอ่อนแอ ท้องโตป่อง เพราะตับม้ามโต เสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวและมีอายุสั้นกว่าเด็กปกติ

การดูแลรักษา นอกจากได้รับเลือดแล้ว รศ.นพ.ปรีดา เตือ นให้พึงระวังเพราะผู้ป่วยที่ได้รับเลือดเป็นเวลานานๆ มักมีภาวะธาตุเหล็กสะสมเกินขนาดในร่างกาย จะทำให้ผิวหนังคล้ำเข้ม เป็นพิษทำลายตับ ตับอ่อน ระบบต่อมไร้ท่อ และหัวใจ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงควรได้รับยาขับเหล็ก ไม่ว่าชนิดฉีดหรือชนิดรับประทาน ควบคู่ไปกับการรับเลือดต่อเนื่องไปตลอดชีวิต ขณะเดียวกัน ควรจะรับประทานยาบำรุงเม็ดเลือด เรียกว่ายากรดโฟลิกไปตลอด

เหนือ อื่นใด ปัจจุบันการแพทย์มีวิธีการรักษาผู้ป่วยเด็กโรคโลหิตจางเบต้าธาลัสซีเมีย และโรคเบต้าธาลัสซีเมียฮีโมโกลบินอี ที่มีอาการรุนแรง ให้หายขาดสำเร็จได้ด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Hematopoietic Stem Cell Transplantation) หรือการปลูกถ่ายไขกระดูกจากผู้บริจาคที่มีหมู่เนื้อเยื่อ HLA ตรงกันหรือเข้ากันได้กับผู้ป่วย ผู้บริจาคอาจจะเป็นพี่น้อง หรืออาสาสมัครที่ไม่ใช่เครือญาติ เป็นที่น่ายินดีว่าจำนวนอาสาสมัครผู้ยินดีบริจาคสเต็มเซลล์ (Stem Cell Donor Registry) ของประเทศไทยโดยสภากาชาดไทย มีจำนวนมากขึ้น ผู้สนใจเรื่องเกี่ยวกับธาลัสซีเมีย สามารถสอบถามได้ที่ ศูนย์กุมารเวชกรุงเทพ โทร.0-2310-3006 หรือที่คอนแทกท์เซ็นเตอร์ โทร. 1719 (24 ชม.)

credit : www.kapook.com

ป้ายกำกับ: , , , ,

ฝึกวินัยให้ลูกตั้งแต่เป็น เจ้าตัวเล็ก




ฝึกวินัยให้ลูกตั้งแต่เป็น"เจ้าตัวเล็ก" (ข่าวสด)


ดร.จิตรา ดุษฎีเมธา ประ ธานโครงการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ให้คำแนะนำพ่อแม่ที่พบปัญหาเด็กในช่วงปฐมวัยคือ ตั้งแต่อนุบาล-ระดับประถมศึกษาตอนต้นไม่ยอมทำการบ้าน!!

ผู้ ปกครองไม่น้อยที่ไม่เน้นเรื่องการฝึกวินัยให้เด็ก เพราะเข้าใจผิดว่าการสอนลูกนั้นต้องเริ่มในช่วงที่ลูกพูดจารู้เรื่อง รอให้ลูกเรียนอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ก่อนแล้วค่อยสอน บางครอบ ครัวทิ้งลูกไว้กับพี่เลี้ยงหรือฝากสถานเลี้ยงเด็กมาโดยตลอด ทั้งที่ช่วงวัย 1-3 ขวบเป็นช่วงวัยที่ควรจะฝึกวินัยให้เด็กๆ ได้แล้ว

ใน ช่วงตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป ถ้าเด็กไม่ได้รับการฝึกเรื่องการกิน การนอน การเล่น การอาบน้ำ หรือการขับถ่ายต้องเป็นเวลา เด็กจะคิดว่าใช้ชีวิตอย่างไรก็ได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนสำคัญอย่างยิ่งในการบ่มเพาะให้เด็กเติบโตเป็นคนมีวินัย การเริ่มต้นด้วยกิจวัตรประจำวันจึงเป็นการเริ่มต้นฝึกวินัยอย่างดีเยี่ยม เพื่อให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นเด็กที่มีวินัยและรับผิดชอบหน้าที่ตัวเอง

"ปัญหาที่เด็กๆ ไม่ยอมทำการบ้านต้องดูพฤติกรรมเด็กว่าเขาถูกฝึกเรื่องวินัยและได้รับการสอนให้รู้จักหน้าที่ตัวเองหรือไม่ พ่อแม่และ คนในบ้านทุกคนต้องคุยกันอย่างเปิดใจว่าเป็นเพราะอะไร หากต้องการปรับให้เด็กเรียนรู้เรื่องวินัยกับเด็กที่อยู่ในระดับประถมศึกษา ก็ยังไม่สาย แต่อาจจะสร้างความอึดอัดให้เด็กบ้าง แต่หากปล่อยไปเรื่อยๆ แบบตามใจจะยิ่งฝึกหัดลำบากมากขึ้นๆ"

ดร.จิตรากล่าวว่า ถ้าเราฝึกเด็กให้ต่อเนื่องแบบเอาจริงเอาจัง เช่น กิจวัตรประจำวันสัก 3 สัปดาห์ เขาจะเคยชิน และรู้สึกว่ากิจวัตรประจำวันที่ต้องทำไปตามเวลาไม่ได้สร้างความอึดอัดให้เขาเลย จึงอยากให้พ่อแม่ใช้เวลาเอาจริงเอาจังกับเด็กๆ สัก 3 สัปดาห์เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตื่นแต่เช้าไปโรงเรียน อาบน้ำ ขับถ่าย กินอาหารเช้า อ่านหนังสือ ทำการบ้าน ช่วยเหลืองานเล็กๆ น้อยๆ ที่บ้าน ล้วนแล้วแต่ต้องฝึกหัดตัวเองทั้งสิ้น เมื่อฝึกเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องนาฬิกาชีวภาพในร่างกายจะเริ่มทำงาน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงตัวเองและวินัยก็จะเกิดขึ้นกับเด็กคนนั้น

กรณีที่เด็กเป็นคนมีวินัยอยู่แล้ว แต่เริ่มเปลี่ยนไป พ่อแม่ต้องพิจารณาให้ละเอียดลงไปอีก คือความสัมพันธ์ที่ตัวเด็กมีต่อพ่อแม่ ญาติพี่น้อง หรือความสัมพันธ์ที่เด็กมีต่อเพื่อนต่อครูเป็นอย่างไร หรือปัญหาของพ่อแม่อาจส่งผลให้เด็กเป็นคนที่ไม่มีวินัย บางครอบ ครัวพ่อแม่เถียงกันทะเลาะกันบ่อย เด็กเรียกร้องความสนใจ เพราะไม่อยากให้พ่อแม่ทะเลาะกันก็มี เป็นพฤติกรรมที่ซ่อนอยู่ในตัวเด็ก

อย่าลืมว่ามีองค์ประกอบอีกหลายอย่างที่ส่งผลให้เด็กคนหนึ่งมีวินัย ไม่มีวินัย หรือเป็นเด็กเกเร เด็กมีสัญชาตญาณการรับรู้เร็วมาก ประสาทรับรู้ของเด็กเร็วมาก พ่อแม่ต้องพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบ และไม่ควรกล่าวโทษกันเอง

credit www.kapook.com

ป้ายกำกับ: , , , ,

ฟันลูกสวย แม่ช่วยได้




ฟันลูกสาว แม่ช่วยได้ (มติชน)


คอลัมน์ คุยกับหมอฟันมหิดล

โดย : ผศ.ภัทราวดี ลีลาทวีวุฒิ ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

หนึ่งในความใส่ใจที่คุณแม่มีต่อลูกคือเรื่องของ "สุขภาพฟัน" แต่ทำไมเด็กหลายคนจึงมีฟันไม่สวย ก่อนจะนึกถึงปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุให้ฟันของลูกไม่สวย คุณแม่ต้องไม่ลืมถามตัวเองก่อน เพราะแม่คือผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพฟันของลูกเป็นอย่างยิ่ง

ลูกฟันดี สร้างได้ในครรภ์แม่ ทราบ หรือไม่ว่าฟันน้ำนมของลูกเริ่มสร้างตั้งแต่อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ แล้วค่อยๆ เติบโตและเริ่มมีแร่ธาตุมาพอกพูนเมื่ออายุครรภ์ได้ 4 เดือน ไล่เรียงไปแต่ละซี่ แม้ครบอายุครรภ์ การสร้างก็ยังคงดำเนินต่อไปตลอดวัยทารกจนได้เคลือบฟันน้ำนมที่เสร็จสมบูรณ์

โดย คุณแม่สามารถช่วยให้ลูกมีสุขภาพฟันที่ดีได้ ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในการเสริมสร้างให้กระบวนการสร้าง ฟันเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ อันได้แก่ อาหารหลัก 5 หมู่ โดยต้องไม่ลืม นม ไข่ ผักสด และผลไม้ ซึ่งให้สารอาหารจำพวกโฟเลต แคลเซียม สังกะสี และไวตามินต่างๆ รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะสุขภาพของแม่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของลูกและอาจส่งผลถึงการ สร้างฟันอีกด้วย

การใช้ยาระหว่างตั้งครรภ์ คุณ แม่ควรรับประทานยาในความดูแลของแพทย์เท่านั้น และต้องระวังยาในกลุ่มเตตร้าไซคลีน ซึ่งมีผลทำให้ฟันของลูกมีสีด่างดำได้ อีกทั้งยาบางชนิดยังมีอันตรายต่อการสร้างอวัยวะของลูกในครรภ์

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ระหว่าง ตั้งครรภ์ คุณแม่ ควรหมั่นดูแลสุขภาพช่องปาก เพราะระดับฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง มักจะทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบง่ายกว่าปกติ นอกจากนั้น การอาเจียน การรับประทานบ่อยขึ้น ทำให้คุณแม่เสี่ยงต่อโรคฟันผุและฟันกร่อนมากขึ้นด้วย คุณแม่จึงควรรักษาอนามัยช่องปาก และบ้วนน้ำมากๆ ทุกครั้งหลังอาเจียน

การรักษาโรคฟันผุในคุณแม่ตั้งครรภ์ และการใช้ ฟลูออไรด์ชนิดบ้วนปาก หรือเคลือบด้วยเจลโดยทันตแพทย์ ส่งผลดีต่อลูก เพราะช่วยลดโอกาสที่ลูกจะรับถ่ายทอดเชื้อก่อโรคฟันผุจากแม่ ในขณะที่การละเลยไม่ไปรับ การรักษาโรคในช่องปาก ส่งผลเสียแก่ลูกน้อยในครรภ์หลายประการ

ระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่สามารถรับการรักษาทางทันตกรรมได้อย่างปลอดภัย และควรพบทันตแพทย์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ เพื่อตรวจรักษา และป้องกันโรค อาจเพียงรับการขูดหินปูนและขัดฟัน เพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบ และติดตามต่ออีกครั้งในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ แต่หากต้องมีการรักษาอื่นๆ หรือการรักษาที่ยุ่งยาก ทันตแพทย์จะวางแผนทำการรักษาในช่วงที่ครรภ์แข็งแรง และคุณแม่นั่งหรือนอนทำฟันได้สบายขึ้น คือช่วงอายุครรภ์ 4-6 เดือน

สิ่งที่คุณแม่ควรระมัดระวังอีกประการหนึ่งคือ ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบว่าตั้งครรภ์ เพื่อ จะได้หลีกเลี่ยง หรือระมัดระวังยิ่งขึ้นในการถ่ายภาพรังสี (เอกซเรย์) หรือการใช้ยาบางชนิด เนื่องจากมีรายงานว่าโรคปริทันต์ในแม่ที่ตั้งครรภ์ สัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนด และการมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยของทารก

การ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นมีประโยชน์สูงสุด เพราะคุณค่าสารอาหารและภูมิคุ้มกันในนมแม่ ทำให้เด็กแข็งแรง เมื่อลูกเริ่มมีฟันขึ้น (อายุประมาณ 6 เดือน) โดยปฏิบัติตามวิธีการ ดังนี้

1. ให้นมเป็นเวลา ตามมื้อ

2. ป้อนน้ำสะอาด 1-2 ช้อนชาหลังจากให้นมลูกทุกครั้ง

3. อย่าให้ลูกดูดนมจนหลับคาปาก ไม่ได้เช็ดหรือแปรงฟัน

4. หลีกเลี่ยงการใช้ขวดนม

5. ทำความสะอาดฟันทุกวัน เช้า เย็น หากจำเป็นต้องใช้นมผสม

6. ไม่ควรใช้นมรสหวาน หรือเติมน้ำผึ้ง น้ำตาลในนม

7. ไม่ใส่น้ำผลไม้หรือน้ำหวานอื่นใดในขวดนม

8. ฝึกลูกให้ใช้แก้ว หรือหลอดตามพัฒนาการ เพื่อเลิกใช้ขวดนมเมื่ออายุประมาณ 18 เดือน

9. ให้น้ำตามทุกครั้ง

ปฏิบัติได้ตามนี้ รับรองว่าฟันลูกสวยได้เพราะคุณแม่ช่วยจริงๆ ค่ะ (หน้าพิเศษ Hospital Healthcare)

credit www.kapook.com

ป้ายกำกับ: , , ,

เด็กเลี้ยงแกะ..ป่วยทางจิต หรือแค่พฤติกรรมป่วน ๆ




เด็กเลี้ยงแกะ..ป่วยทางจิต หรือแค่พฤติกรรมป่วนๆ (มติชน)

มี พ่อแม่จำนวนมากมักจะเดือดเนื้อร้อนใจ เมื่อครูที่โรงเรียนบอกว่า ลูกมักจะมีพฤติกรรมพูดโกหก ไม่ชอบพูดความจริง หรือไปที่ไหนใครๆ ก็หาว่าลูกเป็นเด็กเลี้ยงแกะ ปัญหานี้ถ้ามองให้เป็นเรื่องเล็กก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้าพฤติกรรมชอบโกหกจะสามารถสะท้อนถึงอาการป่วยทางจิตของลูกได้ ถ้า เป็นอย่างนี้แล้ว นพ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล จิตแพทย์ทั่วไปโรงพยาบาลมนารมย์ บอกว่า คงต้องรีบเยียวยา เพราะถ้าหากเด็กโตเป็นผู้ใหญ่ อนาคตเกิดเป็นดารา นักแสดง นักการเมือง หรือคนมีชื่อเสียง ยังไม่ทิ้งลายชอบเลี้ยงแกะแล้ว ผลกระทบและความเสื่อมเสียอาจเกิดขึ้นกับครอบครัวได้

นพ.กัมปนาทให้ข้อมูลว่า การที่เด็กมีพฤติกรรมชอบโกหกต้องหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร ถ้า หากมองในแง่ดี การโกหกอาจเป็นธรรมชาติของเด็ก เพราะโดยพื้นฐานทางจิตใจของเด็กนั้นจะไม่โหดร้ายเหมือนผู้ใหญ่ และการโกหกส่วนใหญ่อาจจะมีเหตุผลบางประการ เช่น เกรงว่าจะถูกทำโทษเมื่อทำผิด หรือต้องการขโมยเงินพ่อแม่เพื่อเอาไปซื้อของเล่นยอดฮิตเหมือนเพื่อนๆ ที่โรงเรียน แต่กลัวพ่อแม่จับได้เลยต้องโกหก ประเภทนี้ต้องพิจารณาถึงสาเหตุว่าเพราะอะไรเด็กถึงไม่ไว้ใจพ่อแม่ ผู้ ปกครอง เมื่อกระทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมลงไป ส่วนผู้ปกครองเองก็ไม่ควรมานั่งจับผิดหรือมีทัศนคติที่ไม่ดีใส่เด็ก หากปล่อยทิ้งไว้ การสร้างมาตรการลงโทษแบบแก้ไขที่ปลายเหตุมักจะไม่ได้ผล เด็กก็จะถูกมองเป็นเด็กไม่ดีและมองตัวเองด้อยคุณค่าในที่สุด เมื่อเริ่มเป็นวัยรุ่นก็มักจะมีพฤติกรรมที่ร่วมกับการโกหกอีกหลายอย่างจน กลายเป็นเด็กมีปัญหาหรือเด็กที่จะกลายเป็นโจรในอนาคต (conduct disorder) และเติบโตขึ้นมาเป็นโจร (psychopath) ในที่สุด

สำหรับวัยรุ่นเองปัญหาที่มักจะเจอส่วนใหญ่ก็คือการคบเพื่อน การมีกลุ่มเพื่อนที่อาจจะชักจูงกันไปทำกิจกรรมที่ไม่ค่อยถูกต้องหรือถูกใจ ผู้ปกครองมากนัก ก็พยายามหาวิธีการหลบหลีกด้วยการโกหก บ่อยครั้งที่ผู้ปกครองเองก็จับไม่ได้ และบ่อยครั้งที่ผู้ปกครองเองก็จับได้ด้วย ดังนั้น สิ่งที่จะตามมาก็คือ อาจจะถูกตำหนิดุด่าจนในที่สุดพฤติกรรมเหล่านั้นแทนที่จะหายไป กลับยิ่งถูกส่งเสริมให้รุนแรง ยิ่งหากจากครอบครัวมากขึ้น

จิตแพทย์เล่าว่า เด็กที่มีความเจ็บป่วยทางด้านจิตเวช เช่น เด็กที่มีปัญหาเรื่องสติปัญญาบกพร่อง มีปัญหาเรื่องภาษา เด็กที่ป่วยเป็นโรคจิต บางครั้งก็ดูเหมือนว่าจะพูดเรื่องที่ไม่จริงตามความคิดที่เกิดขึ้นในโลกส่วน ตัว จากการที่มีสติปัญญาบกพร่องอยู่ หรือเด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์เช่น โรคซึมเศร้า อาจจะไม่ได้แสดงออกทางอารมณ์ แต่มาแสดงออกทางพฤติกรรมเช่น พูดโกหก หนีเรียน ลักขโมย เป็นต้น ก็สามารถพบเห็นได้บ่อยในบ้านและโรงเรียน

นพ.กัมปนาท ฝากข้อแนะนำกับพ่อแม่ผู้ปกครองถึงการช่วยลูกไม่ให้เป็นเด็กเลี้ยงแกะ ดังนี้

1.พ่อแม่ควรสร้างความไว้วางใจกับลูก เพื่อเวลาที่ลูกทำผิดหรือทำสิ่งไม่ดีลงไป ลูกจะได้ปรึกษา แทนที่ลูกจะกลัวความผิดและใช้วิธีการโกหก

2.ไม่ควรตำหนิ หรือดุด่าลูกเมื่อลูกทำความผิด ควร ใช้เหตุผลพูดคุยกัน เพราะบางทีการที่เด็กถูกตำหนิดุด่าอาจจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมชอบโกหก และบางครั้งพฤติกรรมเหล่านั้นก็อาจจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น

3.ไม่ควรจับผิดลูกมากจนเกินไป เพราะ จะทำให้ลูกรู้สึกเหมือนเป็นนักโทษ เช่น บางครั้งลูกกลับบ้านดึก แม่ก็คอยซักถาม จับผิดว่าลูกไปไหน ไปทำอะไร ซึ่งบางทีลูกอาจแค่ไปร้องคาราโอเกะกับเพื่อน แต่การที่พ่อแม่ซักถามเหมือนไม่ไว้ใจลูก และไต่สวนเหมือนเป็นผู้กระทำความผิด เด็กก็อาจจะใช้วิธีการโกหก เพื่อให้พ่อแม่หยุดซักถามหรือหลบหลีกด้วยการโกหก

4.ควรหลีกเลี่ยงการลงโทษเมื่อลูกทำผิดหรือจับโกหกได้ เพราะยังมีทางออกที่ดีกว่าวิธีการลงโทษ ควรจะพูดจาเพื่อทำความเข้าใจ เพราะการลงโทษเป็นการหามาตรการแก้ไขที่ปลายเหตุ ส่วนสาเหตุที่แท้จริงอาจเกิดจากเหตุผลบางประการของลูก ซึ่งจะต้องทำการพูดคุยกัน แต่ถ้าหากเด็กทำผิดแล้ว กลัวการถูกทำโทษ เด็กอาจใช้วิธีการโกหกเพื่อให้พ้นความผิดก็ได้ หากปล่อยไว้นานๆ ก็จะเริ่มติดเป็นนิสัยไปจนโต

5.พยายามสังเกตว่าลูกมีอาการป่วยทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า บกพร่องทางสติปัญญา หรือมีปัญหาเรื่องภาษา ควรทำความเข้าใจกับเด็กเหล่านี้ ว่าบางที่การที่เด็กโกหกอาจไม่ได้ตั้งใจ แต่เป็นเพียงเพราะพวกเขาป่วย ทางที่ดีควรจะรีบพบจิตแพทย์เพื่อรักษาอาการทางจิตเหล่านี้ เพราะอาจจะส่งผลเสียต่อเด็ก เช่น คิดฆ่าตัวตาย เป็นต้น

ดูรายละเอียดที่ www.manarom.com

ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว นพ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล จิตแพทย์ทั่วไปโรงพยาบาลมนารมย์ บอกว่า คงต้องรีบเยียวยา เพราะถ้าหากเด็กโตเป็นผู้ใหญ่ อนาคตเกิดเป็นดารา นักแสดง นักการเมือง หรือคนมีชื่อเสียง ยังไม่ทิ้งลายชอบเลี้ยงแกะแล้ว ผลกระทบและความเสื่อมเสียอาจเกิดขึ้นกับครอบครัวได้ นพ.กัมปนาทให้ข้อมูลว่า เมื่อเริ่มเป็นวัยรุ่นก็มักจะมีพฤติกรรมที่ร่วมกับการโกหกอีกหลายอย่างจน กลายเป็นเด็กมีปัญหาหรือเด็กที่จะกลายเป็นโจรในอนาคต (conduct disorder) และเติบโตขึ้นมาเป็นโจร (psychopath) ในที่สุด สำหรับวัยรุ่นเองปัญหาที่มักจะเจอส่วนใหญ่ก็คือการคบเพื่อน การมีกลุ่มเพื่อนที่อาจจะชักจูงกันไปทำกิจกรรมที่ไม่ค่อยถูกต้องหรือถูกใจ ผู้ปกครองมากนัก ก็พยายามหาวิธีการหลบหลีกด้วยการโกหก บ่อยครั้งที่ผู้ปกครองเองก็จับไม่ได้ และบ่อยครั้งที่ผู้ปกครองเองก็จับได้ด้วย ดังนั้น สิ่งที่จะตามมาก็คือ อาจจะถูกตำหนิดุด่าจนในที่สุดพฤติกรรมเหล่านั้นแทนที่จะหายไป กลับยิ่งถูกส่งเสริมให้รุนแรง ยิ่งหากจากครอบครัวมากขึ้น จิตแพทย์เล่าว่า นพ.กัมปนาท เพื่อเวลาที่ลูกทำผิดหรือทำสิ่งไม่ดีลงไป ลูกจะได้ปรึกษา แทนที่ลูกจะกลัวความผิดและใช้วิธีการโกหก ควรใช้เหตุผลพูดคุยกัน เพราะบางทีการที่เด็กถูกตำหนิดุด่าอาจจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมชอบโกหก และบางครั้งพฤติกรรมเหล่านั้นก็อาจจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกเหมือนเป็นนักโทษ เช่น บางครั้งลูกกลับบ้านดึก แม่ก็คอยซักถาม จับผิดว่าลูกไปไหน ไปทำอะไร ซึ่งบางทีลูกอาจแค่ไปร้องคาราโอเกะกับเพื่อน แต่การที่พ่อแม่ซักถามเหมือนไม่ไว้ใจลูก และไต่สวนเหมือนเป็นผู้กระทำความผิด เด็กก็อาจจะใช้วิธีการโกหก เพื่อให้พ่อแม่หยุดซักถามหรือหลบหลีกด้วยการโกหก เพราะยังมีทางออกที่ดีกว่าวิธีการลงโทษ ควรจะพูดจาเพื่อทำความเข้าใจ เพราะการลงโทษเป็นการหามาตรการแก้ไขที่ปลายเหตุ ส่วนสาเหตุที่แท้จริงอาจเกิดจากเหตุผลบางประการของลูก ซึ่งจะต้องทำการพูดคุยกัน แต่ถ้าหากเด็กทำผิดแล้ว กลัวการถูกทำโทษ เด็กอาจใช้วิธีการโกหกเพื่อให้พ้นความผิดก็ได้ หากปล่อยไว้นานๆ ก็จะเริ่มติดเป็นนิสัยไปจนโต เช่น โรคซึมเศร้า บกพร่องทางสติปัญญา หรือมีปัญหาเรื่องภาษา ควรทำความเข้าใจกับเด็กเหล่านี้ ว่าบางที่การที่เด็กโกหกอาจไม่ได้ตั้งใจ แต่เป็นเพียงเพราะพวกเขาป่วย ทางที่ดีควรจะรีบพบจิตแพทย์เพื่อรักษาอาการทางจิตเหล่านี้ เพราะอาจจะส่งผลเสียต่อเด็ก เช่น คิดฆ่าตัวตาย เป็นต้น


credit www.kapook.com

ป้ายกำกับ: , , ,

วิธีบำบัดเด็กสมาธิสั้น




วิธีบำบัดเด็กสมาธิสั้น (เดลินิวส์)


เด็กคนไหนที่รู้ตัวว่าเป็นคนสมาธิสั้น วันนี้เดลินิวส์ออนไลน์มีวิธีบำบัดมาบอก…

1. อย่าเปิดทีวี ให้มีเสียงดังจนเกินไป หรือสภาพแวดล้อมในบ้านต้องไม่วุ่นวายหรือมีการทะเลาะกันบ่อยครั้ง

2. หามุมสงบสำหรับเด็ก เพื่อให้เกิดสมาธิในการทำการบ้าน

3. ฝึกฝนวินัยให้เด็ก สร้างกรอบกฎเกณฑ์ มีตารางเวลาชัดเจน ไม่ปล่อยละเลยหรือตามใจจนทำให้เด็กติดเกม

4. มีการสื่อสารที่สั้น กระชับ ชัดเจน หากไม่แน่ใจให้เด็กทบทวนว่าสิ่งที่สั่งสอนไปคืออะไรบ้าง

5. มีความเข้าใจในพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้นอย่างจริงจังและจริงใจ

6. จัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้เกิดความมีระเบียบ ไม่ปล่อยให้บ้านรกรุงรัง

7. อย่าทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อย

8. ไม่ควรจับกลุ่มให้เด็กสมาธิสั้นอยู่ใกล้ชิดกับเด็กที่มีปัญหาแบบเดียวกัน เพราะจะทำให้กลายเป็นเด็กที่เกเรก้าวร้าวได้

9. ส่งเสริมจุดแข็งข้อดีในตัวเด็ก เพื่อให้เด็กรู้สึกดี และเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง

10. จัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ให้ได้ใช้เวลาว่างอย่างมีประโยชน์ และใช้พลังงานส่วนเกินอย่างเหมาะสม รวมถึงเป็นการฝึกสมาธิไปในตัว เช่น ออกกำลังกาย หรือเล่นดนตรี ตามที่เด็กสนใจ

รู้อย่างนี้แล้ว เด็กที่สมาธิสั้นก็ลองนำวิธีที่แนะนำไปปฏิบัติตามกันได้


credit www.kapook.com

ป้ายกำกับ: , , ,

เมื่อลูกผวาโรงเรียน พ่อแม่ต้องเร่งไขปริศนา




เมื่อลูกผวาโรงเรียน พ่อแม่ต้องเร่งไขปริศนา (ข่าวสด)


ปัญหาครูทำร้ายทุบตีเด็กนักเรียนที่เป็นข่าวฟ้องร้องดำเนินคดีกันนั้น เป็นตัวอย่างให้พ่อแม่ ผู้ปกครองไตร่ตรองว่า จะหาสถานรับเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนอนุบาลที่ดีกับลูกหลานอย่างไร

นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ กรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ กรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ให้ข้อชี้แนะพ่อแม่ผู้ปกครอง ก่อนที่จะ ส่งลูกเข้าเรียนอนุบาลว่า ควรตรวจสอบและสำรวจให้รอบคอบในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นระบบการเรียนการสอน การจัดหาบุคลากรว่ามีคุณภาพเพียงไร และความปลอดภัย

เกณฑ์ที่ควรพิจารณา ได้แก่ ด้านบุคลากร คือ ครูหรือผู้ดูแลเด็กมีคุณสมบัติ และวัยวุฒิเหมาะสมหรือไม่ เช่น ครูมีอายุน้อยเกินไป มักจะก่ออันตรายแก่ชีวิตของเด็กมาหลายราย เพราะครูกลุ่มนี้จะไม่เข้าใจพัฒนาการของเด็กและไม่สามารถจัดการกับพฤติกรรม ของเด็กได้ จึงใช้ความรุนแรงต่อเด็ก

ผู้ ปกครองควรพูดคุยสอบถามความเป็นมาของครูแต่ละคน ว่าเข้ามาสมัครในโรงเรียนได้อย่างไร โรงเรียนมีกระบวนการคัดเลือกเช่นไร เกณฑ์วัดต่างๆ ดูว่าครูมีความรู้เกี่ยวกับเด็ก พัฒนาการของเด็ก หรือมีการจัดแผนการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวัยอนุบาลหรือไม่ หรือ มีการพูดคุยกับผู้บริหารถึงระบบการสอนของโรงเรียน จำนวนครูต่อจำนวนเด็ก ซึ่งตามมาตรฐานควรมีครูผู้ดูแลเด็กอย่างน้อย 2 คนในภายหนึ่งชั้นเรียน เพื่อช่วยกันดูแลเด็กได้อย่างทั่วถึง เพราะหากเกิดความวุ่นวายขึ้นภายในห้องเรียน ครูคนหนึ่งเข้าไปจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น ส่วนครูอีกคนหนึ่งจะได้ช่วยดูเด็กที่เหลือให้ปลอดภัย

อีกด้านที่ควรพิจารณา คือ กิจกรรมที่ให้เด็กทำตอบสนองต่อพัฒนาการของเด็กอย่างไรบ้าง เพราะ ตามมาตรฐานในห้องเรียนอนุบาลควรมีการจัดมุมห้องเป็น 5 มุม เพราะเด็กวัยอนุบาลช่วงอายุระหว่าง 3-6 ปี สมาธิจะไม่มากหรือสมาธิสั้น จะใช้เวลาในการทำกิจกรรมใดๆ ได้ไม่ยาวนานนัก ซึ่งจะสอดคล้องกับระยะเวลาที่เด็กจะให้ความสนใจ เช่นเดียวกับการกำหนดคาบเรียนของเด็กชั้นประถมศึกษา เรียน 45 นาที พัก 15 นาที ซึ่งตรงนี้เป็นประเด็นที่ผู้ปกครองต้องรู้ และผู้ปกครองควรเตรียมความพร้อมให้เด็กวัยนี้ ซึ่งเด็กจะต้องรู้ว่าการเข้าเรียนอนุบาล สังคมแวดล้อมจะเปลี่ยนไป จากที่อยู่บ้าน ตนเองจะเป็นศูนย์กลางและได้รับการดูแลเป็นพิเศษจากผู้อื่นในครอบครัว เมื่อมาอยู่ที่โรงเรียนจะมีเพื่อนวัยเดียวกันหลายคน คุณครูจะเป็นศูนย์กลางในการดูแล เด็กจะไม่ได้รับการปฏิบัติหรือดูแลเป็นพิเศษเหมือนในครอบครัว

อีกด้านที่สำคัญและไม่ควรละเลย คือ การบริหารจัดการเรื่องความปลอดภัย ผู้ปกครองต้องสำรวจตรวจตราโรงเรียนว่ามีระบบดูแลความปลอดภัยให้แก่เด็กอย่าง ไรบ้าง เช่น การตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน เครื่องเล่นของเด็กมีความคงทน แข็งแรงและเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ของเล่นที่นำมาให้เด็กเล่น ใช้สีปนเปื้อนด้วยสารอันตรายที่เป็นพิษหรือไม่ เครื่องใช้พลาสติก ให้สังเกตจากสัญลักษณ์สามเหลี่ยมภายใต้อุปกรณ์จะบอกได้ว่าเหมาะสมสำหรับเด็ก หรือไม่

ลักษณะการออกแบบอาคารสถานที่สอดคล้องกับวัยของเด็กหรือไม่ มีแง่มุมที่เป็นอันตราย หรือมีมุมอับ ซอกหลืบที่เด็กเข้าไปหลบได้หรือไม่ จัดระบบป้องกันมิให้เด็กอยู่ตามลำพังหรือไม่ ห้องน้ำเด็กไม่ควรอยู่ในที่ลับหลังอาคารเรียน และไม่ควรมีประตูห้องน้ำ 2 ชั้น หรือปิดทึบ เพราะอาจเกิดการแอบเข้าไปรังแกเด็กได้ในบางกรณี พื้นสนามหรือบริเวณที่เด็กวิ่งเล่น เป็นพื้นหญ้า พื้นทราย หรือพื้นซีเมนต์ ถ้าเป็นพื้นซีเมนต์หากเด็กวิ่งเล่นแล้วหกล้มอาจได้รับบาดเจ็บร้ายแรง

การรับ-ส่งเด็ก มีมาตรการใดที่ชี้ชัดว่าเป็นผู้ปกครองคนเดียวกันที่มาส่งและรับเด็ก ควร มีบัตรประจำตัวผู้ปกครอง และควรมีการจัดพื้นที่ในการส่ง-รับเด็ก ไม่ควรให้ผู้ปกครองสามารถเข้าไปรับเด็กได้ถึงในห้องเรียน เพื่อป้องกันมิให้บุคคลอื่นเข้าถึงตัวเด็กและก่ออันตรายกับเด็กได้

ประการ สำคัญควรดูว่า ระบบการดูแลบุคลากร ของผู้บริหารโรงเรียนมีความใกล้ชิด แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ครูทุกคนที่ทำร้ายเด็กควรถูกไล่ออก เพิกถอนใบประกอบวิชาชีพ พร้อมทั้งดำเนินคดีอาญา เพราะครูทุกคนจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเหมาะสม

เมื่อ ส่งลูกเข้าเรียนไปแล้ว ควรต้องติดตามความเป็นไปในชีวิตของลูกอย่างใกล้ชิด พูดคุยสื่อสารกับลูก สอบถามถึงการใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียน การเล่นกับเพื่อน หรือกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน

มีข้อสังเกตที่ผู้ปกครองจะต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ คือ หากลูกไม่อยากไปโรงเรียน ร้องไห้ไม่อยากไป ซึ่งไม่นับรวมในช่วงหนึ่งหรือสองสัปดาห์แรกสำหรับเด็กเพิ่งเข้าเรียนใหม่ เพราะเป็นเรื่องของการปรับตัว แต่ควรสังเกตว่าคุณครูหรือทางโรงเรียนมีวิธีการดูแลเด็กอย่างไร หากเด็กไม่อยากเข้าเรียน เพราะการจัดการกับพฤติกรรมนี้ไม่ใช่เรื่องยาก หากครูรู้ถึงพัฒนาการของเด็ก

เด็กทุกคนมีความอยากรู้อยากเห็น อยากเล่นสนุก หากครูรู้จะใช้วิธีการเบี่ยงเบนความสนใจ โน้มน้าวใจให้เด็กเห็นว่าอยู่โรงเรียนมีกิจกรรมสนุกๆให้ทำมากมาย และอยู่ไม่นานผู้ปกครองก็จะมารับกลับ ตรงจุดนี้ผู้ปกครองและครูควรร่วมกันทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและไว้ใจว่า อยู่โรงเรียนแล้วสนุก พ่อแม่ก็มารับกลับตรงเวลา แต่ โดยส่วนมากเด็กไม่อยากอยู่โรงเรียนเพราะโรงเรียนมีการใช้กฎระเบียบวินัย มาบังคับเด็ก ให้ทำตามซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความวิตกกังวลในเรื่องที่ตนขาดเสรีภาพ เพราะเด็กวัยนี้มีความอดทนน้อย หากต้องให้ทำอะไรนานๆ จะรู้สึกอึดอัดไม่มีอิสระ

การที่พ้นหนึ่งหรือสองสัปดาห์แรกแล้ว เด็กยังไม่อยากไปโรงเรียน แสดงว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น เด็ก บางคนเมื่อถึงเวลาไปโรงเรียนจะรู้สึกหวาดกลัว หน้าซีด ตัวสั่น มือเท้าเย็น หรือร้องไห้อย่างอ้อนวอน หรือผู้ปกครองต้องฉุด กระชาก ดึงอย่างไรลูกก็ยังตัวแข็งไม่ยอมไปเรียน แสดงว่าภายในโรงเรียนมีการใช้ความรุนแรงหรือมีการกระทำที่ร้ายแรงเกิดขึ้น กับตัวเด็ก ผู้ปกครองต้องคอยสังเกต ไม่ต้องรอให้มีร่องรอยบาดแผลตามตัวเด็ก

หาก มีการทำร้ายเด็กเกิดขึ้นจริง ผู้ปกครองควรแจ้งเรื่องไปยังหน่วยงานคุ้มครองเด็ก พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 หรือแจ้งไปยังผู้ชำนาญพิเศษหรือหน่วยงานที่ดูแลควบคุมมาตรฐานของสถานรับ เลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนนั้น ได้แก่ หน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการ หรือกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งกระทรวงหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องเข้าไปตรวจสอบ หากพบว่าสถานที่ดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องลงโทษทางอาญาใช้อำนาจของศาลสั่งห้ามดำเนินการและปิดกิจการ


credit : www.kapook.com

ป้ายกำกับ: , ,